ทฤษฎีการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยทั่วไปแบ่งชนิดของการสูญเสียการได้ยิน ออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

- ชนิดที่มีการนำเสียงเสีย (Conductive Hearing Loss) ซึ่งเกิดจากการมี พยาธิสภาพที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง
- ชนิดที่มีการทำงานของประสาทรับเสียงเสีย (Sensorineural Hearing Loss) ซึ่งเกิดจากการมีพยาธิสภาพที่หูชั้นในหรือประสาทรับเสียง
- ชนิดที่มีการสูญเสีย แบบผสม (Mixed Hearing Loss) สาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน ได้แก่ กรรมพันธุ์ ความพิการหรือผิดรูปตั้งแต่กำเนิด การติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดา การเสพยาหรือสารเสพติด การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราระหว่างการตั้งครรภ์ การเจ็บป่วย การบาดเจ็บและอุบัติเหตุ การทำงานที่สัมผัส เสียงดังหรือสารที่มีพิษต่อหู

มากกว่าครึ่งของสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้ การสูญเสียการได้ยินในเด็กปฐมวัยมีผลต่อการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนภาษาไทยซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนขั้นต่อไป

จากการศึกษาของสาธิต ชยาภัม พบว่า เด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินในเด็กวัยเรียน มีผลกระทบต่อการเรียนภาษาไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์มาก การสูญเสียการได้ยินแม้เพียงเล็กน้อยก็จะมีผลต่อการฟังและจำแแนกเสียงวรรณยุกต์ และเสียงควบกล้ำ

ระดับความดันเสียง

ระดับความดันเสียงสามารถตรวจวัดได้ โดยมีค่าเท่ากันกับระดับความเข้มเสียง ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้:

Sound Pressure Level (SPL)=20log⁡[P/P_0 ]

เมื่อ

- Sound Pressure Level คือ ระดับความดันเสียง (dBSPL)
- P คือ ความดันเสียง N/m^2
- P_0 คือ ความดันเสียงที่มนุษย์เริ่มได้ยิน คือ 0.00002 N/m^2

การตรวจการได้ยิน

เป้าหมายหลักของการตรวจการได้ยินในเด็ก คือ ระดับความไวของการได้ยินเสียงที่เบาที่สุดในแต่ละความถี่ (Hearing Threshold) ของหูแต่ละข้าง แต่เนื่องจากความร่วมมือในการตรวจของเด็กแต่ละช่วงอายุมีความจำกัด ดังนั้น การตรวจวัดการได้ยินในเด็กจึงจำเป็นต้องใช้การตรวจร่วมกันหลายวิธี และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมิน ซึ่งวิธีการตรวจจะประกอบไปด้วยการตรวจที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากเด็ก (Subjective Measurement) และการตรวจที่ไม่ต้องอาศัยความร่วมมือจากเด็ก (Objective Measurement)

ขั้นตอนการตรวจของแพทย์หู คอ จมูก จะซักประวัติของเด็ก หากสงสัยว่าเด็กอาจมีการได้ยินผิดปกติ จะทำการตรวจช่องหูด้วย Otoscope และส่งต่อให้นักแก้ไขการได้ยินตรวจประเมินการได้ยิน การตรวจด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของเด็ก และความพร้อมของเครื่องมือการตรวจที่ต้องอาศัยความร่วมมือ เช่น การตรวจวัดการได้ยินด้วยเครื่อง Audiometer ซึ่งมีเทคนิคในการตรวจหลายวิธี เช่น การตรวจการสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองต่อเสียง (Behavioral Audiometry) การตรวจการได้ยินโดยการทำตามเงื่อนไข (Conditioning Audiometry) ซึ่งผลการตรวจที่ได้จะมีข้อมูลรายละเอียดของผลการตรวจที่แตกต่างกัน การจะตรวจด้วยเทคนิคใด นักแก้ไขการได้ยินจะพิจารณาโดยอิงกับพัฒนาการของเด็กแต่ละราย นอกจากนี้นักแก้ไขการได้ยิน อาจใช้การตรวจที่ไม่ต้องอาศัยความร่วมมือจากเด็ก เช่น การตรวจวัดสมรรถภาพหูชั้นกลาง (Tympanometry) การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์หูชั้นใน (Otoacoustic Emissions) ร่วมด้วย ผลการตรวจที่ได้ในแต่ละวิธีจะนำมาพิจารณาร่วมกัน และสรุปผลของการได้ยินของเด็กรายนั้นๆได้

Clinical Audiograms and Hearing Level (dB HL)

แหล่งที่มาของภาพ: www.babyhearing.org

นักแก้ไขการได้ยินจะทำการวัดความเข้มของเสียงในหน่วย dB HL (Decibels Hearing Level) โดย dB จะเทียบกับเสียงที่เงียบที่สุดที่บุคคลวัยเยาว์ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมควรได้ยิน ในการทดสอบการได้ยิน สัญญาณเสียงบริสุทธิ์ ระหว่าง 250 ถึง 8,000 Hz จะถูกใช้ในการทดสอบที่ระดับค่าความดังต่างๆ เพื่อตรวจหาถึงเสียงที่เงียบที่สุดที่ผู้ได้รับการทดสอบได้ยินในหูด้านซ้ายและขวา เกณฑ์การได้ยินอยู่ระหว่างระดับความดังที่ -10 ถึง +20 dBHL ถือว่า ผู้เข้ารับการทดสอบมีระดับการได้ยินปกติ หากมีเกณฑ์การได้ยินมากกว่า 20 dBHL ขึ้นไป จะถือว่ามีการสูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่ระดับอ่อน (25-40 dBHL) ปานกลาง (41-55 dBHL) รุนแรง (71-91 dBHL) หรือไม่ได้ยิน (มากกว่า 90 dBHL)

ขั้นตอนการตรวจของแพทย์หู คอ จมูก จะซักประวัติของเด็ก หากสงสัยว่าเด็กอาจมีการได้ยินผิดปกติ จะทำการตรวจช่องหูด้วย Otoscope และส่งต่อให้นักแก้ไขการได้ยินตรวจประเมินการได้ยิน การตรวจด้วยวิธีใด ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของเด็ก และความพร้อมของเครื่องมือการตรวจที่ต้องอาศัยความร่วมมือ เช่น การตรวจวัดการได้ยินด้วยเครื่อง Audiometer ซึ่งมีเทคนิคในการตรวจหลายวิธี เช่น การตรวจการสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองต่อเสียง (Behavioral Audiometry) การตรวจการได้ยินโดยการทำตามเงื่อนไข (Conditioning Audiometry) ซึ่งผลการตรวจที่ได้จะมีข้อมูลรายละเอียดของผลการตรวจที่แตกต่างกัน การจะตรวจด้วยเทคนิคใด นักแก้ไขการได้ยินจะพิจารณาโดยอิงกับพัฒนาการของเด็กแต่ละราย นอกจากนี้นักแก้ไขการได้ยิน อาจใช้การตรวจที่ไม่ต้องอาศัยความร่วมมือจากเด็ก เช่น การตรวจวัดสมรรถภาพหูชั้นกลาง (Tympanometry) การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์หูชั้นใน (Otoacoustic Emissions) ร่วมด้วย ผลการตรวจที่ได้ในแต่ละวิธีจะนำมาพิจารณาร่วมกัน และสรุปผลของการได้ยินของเด็กรายนั้นๆได้